เมษายน 20, 2024, 06:05:08 PM
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
*

เทคนิคการถ่ายพลุ
หน้า: 1 2 »   ลงล่าง
  พิมพ์  

  เทคนิคการถ่ายพลุ
ผู้เขียน ข้อความ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 10:52:36 AM »

วันนี้ขอเอามะพร้าวมาขายสวนครับ  ใครที่รู้อยู่แล้วก็ผ่านๆไปเลยครับ  เอาเป็นว่ามันเป็นบทความสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ และมันก็ไม่ใช่หลักวิชาการอะไร  เป็นเพียงประสบการณ์ที่นำมาแบ่งปันกันเท่านั้นนะครับ


* IMG_2703.jpg (152.45 KB, 607x907 - ดู 186 ครั้ง.)


Share

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 10:54:45 AM »

1. เรื่องแรกเลยที่ต้องพยายามรู้ให้ได้ก็คือ ตำแหน่งของกระบอกยิงพลุที่แน่นอน (เพื่อเอาไว้คำนวนระยะทางจากพลุถึงจุดที่จะถ่าย) ขนาดของพลุว่าลูกใหญ่มากน้อยแค่ไหน ความสูงของระดับการยิงพลุเท่าไหร่ (เพื่อเอาไว้คำนวนว่าต้องใช้เลนส์อะไรที่เหมาะสม)และจำนวนที่ยิงกี่ลูก


* IMG_4127.jpg (121.52 KB, 900x600 - ดู 184 ครั้ง.)

* IMG_4129.jpg (122.04 KB, 900x600 - ดู 183 ครั้ง.)

* IMG_4133.jpg (113.33 KB, 900x600 - ดู 183 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 10:57:39 AM »

2. มุมถ่ายและทิศทางของฉากประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผมมักจะเลือกมุมถ่ายจากมุมสูงในระดับหนึ่งครับ ประมาณว่าราวๆตึกชั้นที่ 5-15 ประมาณนี้ครับ เพราะหากถ่ายพลุจากพื้นดิน เรามักได้ภาพเป็นมุมเงยมากเกินไป  และฉากหลังของภาพพลุหากเป็นไปได้ควรให้ฉากมีแสงจากภูมิทัศน์รอบๆบริเวณได้ก็จะดีครับ


* IMG_4143.jpg (152.92 KB, 900x600 - ดู 176 ครั้ง.)

* IMG_4188.jpg (87.79 KB, 900x600 - ดู 182 ครั้ง.)

* IMG_4657.jpg (189.92 KB, 900x609 - ดู 591 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2013, 11:00:57 AM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 10:59:32 AM »

3. ทิศทางลม หากเป็นไปได้ ผมมักจะเลือกถ่ายจากทิศทางที่อยู่เหนือลมจากจุดยิงครับ เพราะหากอยู่ทิศทางใต้ลม เวลาที่พลุระเบิดเราจะพบกับม่านควัน ทำให้พลุลูกต่อๆไปถูกม่านควันบดบังเอาไว้ไม่สวยงามเท่าที่ควร และอีกอย่าง เศษผงจากพลุอาจลอยมาเข้าเลนส์ด้วยครับ (แต่บางครั้งก็ไม่สามารถทำได้ เพราะสถานที่บังคับ หรือดูดีแล้ว แต่เวลายิงพลุจริง ทิศทางลมเปลี่ยน)


* 003.jpg (192.03 KB, 628x928 - ดู 184 ครั้ง.)

* 004.jpg (196.42 KB, 637x937 - ดู 179 ครั้ง.)

* 012.jpg (198.7 KB, 628x928 - ดู 181 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:02:30 AM »

4. เตรียมอาวุธให้พร้อม และเข้าไปให้ถึงก่อนเวลา หากเป็นงานใหญ่ๆอาจมีกล้องเยอะมาก ไปช้าอาจไม่มีที่ให้วางกล้องนะครับ และก้อ อย่าลืมน้ำ+อาหารรองท้องนะครับ เพราะบางงานอาจต้องไปรอนาน และอาจต้องรอที่ให้ฝูงชนออกอีกนานครับ


* IMG_0455.JPG (177.62 KB, 814x547 - ดู 183 ครั้ง.)

* 020.jpg (189.45 KB, 606x906 - ดู 186 ครั้ง.)

* 014.jpg (195.22 KB, 606x906 - ดู 179 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:09:57 AM »

5. อาวุธที่ใช้ นอกจากกล้องแล้ว สิ่งที่จำเป็นมากๆในการถ่ายพลุก็คือ ขาตั้งและสายลั่นชัตเตอร์ครับ (ขาตั้งต้องแข็งแรงมากพอด้วยนะครับ เพราะมีบางคนเอาขาตั้งเล็กๆไปใช้ พอโดนลมแล้วกล้องมันสั่น ถ่ายออกมาเส้นพลุดันกลายเป็นเส้นบะหมี่แห้งครับ) ส่วนการจะใช้เลนส์อะไร ทางยาวโฟกัสเท่าไหร่ นั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดถ่ายไปถึงจุดยิง และขนาดความใหญ่หรือสูงของพลุครับ


* IMG_4029.jpg (142.94 KB, 900x600 - ดู 182 ครั้ง.)

* IMG_4066.jpg (154.89 KB, 900x600 - ดู 182 ครั้ง.)

* 002.jpg (191.49 KB, 628x928 - ดู 182 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:11:09 AM »

6. ไฟฉาย ค่อนข้างจำเป็นครับ เพราะเวลาที่จุดพลุมักจะปิดไฟ ทำให้มืดมาก เวลาจะจัดการกับกล้องมองไม่ค่อยเห็นครับ มีไฟฉายเล็กๆสักอัน อุ่นใจกว่าครับ

7. การเซทหน้ากล้อง ผมใช้ชัตเตอร์ b +สายลั่นไก ตั้งถ่ายในระบบ m ปรับระบบโฟกัสเป็นระบบ m จากนั้นเอาไฟฉายส่องดูที่ตัวเลนส์ หมุนหาโฟกัสไปที่สุดสายตาแล้วปรับย้อนกลับมาเล็กน้อย iso ส่วนใหญ่ผมจะใช้ที่ 100 f11 การที่ใช้ f เท่าไรนั้น ที่จริงก็ขึ้นอยู่กับพลุว่าแสงจ้ามาก-น้อยเท่าไรนะครับ แต่ส่วนใหญก็จะ +- ไม่เกิน 1F ครับ แสงน้อยก็อาจจะ f8 ถ้าจ้ามากก็ f16 หรือจะใช้วิธีเปลี่ยน iso เอาก็ได้ครับ แต่การเปลี่ยนค่า f อาจมีผลอีกอย่างคือ เมื่อ f กว้าง เส้นพลุก็จะหนาขึ้น ในขณะที่ f แคบ เส้นก็จะบางเบา
ส่วนไวท์บาลานท์ให้ตั้งที่เดย์ไลท์ อย่าตั้งแบบออโต้นะครับ เพราะกล้องจะทำงานไม่ทันนะครับ พิคเจอร์สไตล์ ผมมักจะตั้งที่แลนด์สเคฟครับ


* IMG_3940.jpg (102.6 KB, 900x600 - ดู 180 ครั้ง.)

* IMG_3944.jpg (94.41 KB, 900x600 - ดู 194 ครั้ง.)

* IMG_3959.jpg (107.65 KB, 900x600 - ดู 190 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 13, 2013, 08:04:03 PM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:12:46 AM »

8. เทคนิคการถ่าย ส่วนใหญ่พลุลูกแรกผมจะยังไม่กดชัตเตอร์ครับ แต่จะมองผ่านวิวไฟเดอร์ว่าเมื่อเวลาที่พลุแตกออกนั้น มันอยู่ในเฟรมทั้งหมดไหม หรือ เล็กไปไหม หากไม่พอดีก็ทำการจัดเฟรมไหม่ทันทีครับ พลุลูกที่ 2 กดถ่ายแล้วเช็คหลังจอทันทีว่าแสงที่ถ่ายได้ ok ไหม หากมากไป-น้อยไป ก็แก้ไขไหม่ครับ


* 018.jpg (198.66 KB, 628x928 - ดู 185 ครั้ง.)

* 019.jpg (187.96 KB, 628x928 - ดู 186 ครั้ง.)

* 017.jpg (192.34 KB, 606x906 - ดู 190 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:14:24 AM »

9. เทคนิคการถ่าย ผมจะเริ่มกดชัตเตอร์เมื่อทันทีที่ได้ยินเสียง หรือทันทีที่เห็นแสงของพลุเริ่มจุดจากกระบอกยิงที่พื้น และจะปล่อยชัตเตอร์เมื่อพลุแตกจนเกือบจะสิ้นแสงครับ เวลาที่ใช้ก็มักจะประมาณ 5-12 วินาทีครับ
เวลาที่พลุยิงรัวถี่ๆ อย่าโลบมากนะครับ ควรปล่อยชัตเตอร์เมื่อตอนที่เราคิดว่ามีพลุอยู่ในเฟรมมากพอแล้วครับ การถ่ายเก็บเอาพลุมามากๆ แทนที่จะสวย กลับจะดูยุ่งเหยิงมากกว่าครับ


* IMG_4862.jpg (197.3 KB, 606x906 - ดู 192 ครั้ง.)

* IMG_4912.jpg (193.92 KB, 606x906 - ดู 190 ครั้ง.)

* IMG_4928.jpg (193.46 KB, 606x906 - ดู 192 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:15:13 AM »

10. เทคนิคการถ่าย แต่ถ้าเป็นพลุประเภทที่จุดแสดงเป็นตัวเลขหรือที่เป็นรูปตุ๊กตาต่างๆ ต้องใช้ชัตเตอร์สั้นๆนะครับ ประมาณ 1/2 วินาทีก็พอครับ ไม่อย่างนั้น เส้นแสงที่ลากยาวจะทำให้ตัวเลขหรือรูปตุ๊กตานั้นดูไม่เป็นตัวเลขหรือตุ๊กตาครับ และอย่าลืมเปลี่ยนค่าความไวแสง (ISO) หรือหน้ากล้อง (F) ด้วยนะครับ เพราะไม่อย่างนั้น ภาพที่ได้อาจมืดเกินไป


* IMG_4695.jpg (189.63 KB, 1066x767 - ดู 193 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2013, 11:45:09 AM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:26:56 AM »

11. ควรมีผ้าดำที่ค่อนข้างทึบ แสงลอดผ่านไม่ได้ไปด้วยสักผืน  เผื่อเอาไว้จัดมุมของพลุใหม่ เช่น หากพลุจุดในตำแหน่งเดิมทุกครั้ง  ให้จัดวางพลุลูกแรกไว้ทางมุมภาพด้านใดด้านหนึ่ง  เมื่อถ่ายพลุลูกแรกไปแล้วอย่าเพิ่งปิดชัตเตอร์ แต่เอาผ้าดำคลุมที่เลนส์อย่าให้แสงเข้าได้ แล้วขยับมุมกล้องใหม่ กะให้ตำแหน่งพลุเลื่อนเข้าไปอยู่ทางกลางเฟรม (ซึ่งแน่นอนว่าท่านจะต้องกะเล็งมุมเบี่ยงกล้องเอาไว้ก่อน เพราะว่าหากเรายังไม่ได้ปิดชัตเตอร์  เราจะมองทางช่องวิวไฟเดอร์ไม่ได้) พอพลุลูกที่ 2 มาก็ให้ดึงผ้าคลุมออก และเมื่อพลุลูกที่ 2 ผ่านไปก็ให้รีบปิดคลุมผ้าดำอีกครั้งแล้วขยับมุมกล้องอีก  ทำไปจนกว่าจะได้พลุเป็นที่พอใจแล้วจึงปิดชัตเตอร์ลง  ทำแบบนี้ เราก็จะได้ภาพพลุที่เหมือนกับว่ามีการจุดพลุเยอะๆครับ

หากมีการจุดพลุหลายๆตำแหน่งแต่ไม่พร้อมกัน ก็ใช้เทคนิคนี้ได้เหมือนกันครับ  เช่น พลุอาจจุดจากตำแหน่งมุมซ้ายของภาพ  เมื่อเราถ่ายมาเราก็จะได้พลุที่ตรงนั้นอย่างเดียว  ตำแหน่งอื่นไม่มีพลุอยู่  แต่พอเค้าจุดในตำแหน่งอีกด้านของภาพ พอเราถ่ายมา เราก็จะได้พลุเพียงอีกด้านของภาพเท่านั้น  หากเราใช้วิธีคลุมผ้าดำเมื่อพลุตำแหน่งซ้ายผ่านไป และรอจนพลุตำแหน่งขวาจุดเราก็ดึงผ้าดำออก แล้วจึงค่อยปิดชัตเตอร์ลง เราจะได้ภาพพลุทั้งซ้ายและขวาครับ


* IMG_4813.jpg (196.11 KB, 900x606 - ดู 180 ครั้ง.)

* IMG_4782.jpg (198.3 KB, 900x607 - ดู 180 ครั้ง.)

* IMG_4888.jpg (199.7 KB, 900x607 - ดู 175 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2014, 09:50:54 AM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:37:47 AM »

12. ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ อย่าไปตั้งขาตั้งกล้องบนสถานที่ที่ไม่มั่นคงนะครับ เพราะรูปที่ได้จะสั่นไหวไปตามนั้นครับ เช่นครั้งหนึ่ง ผมหาที่ตั้งขากล้องไม่ได้ ก็เลยปีนขึ้นไปอบู่บนหลังคารถเทศบาลหรือส้วมเคลื่อนที่นั่นแหละ ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาจุดพลุ มีคนขึ้นๆลงๆทำให้รถไหวโยกตลอดเวลา พังหมดทั้งงานครับ อิๆๆ
อีกอย่าง ในเรือหรือโป๊ะท่าเรือก็ไม่ควรอย่างยิ่งครับ


* 001.jpg (197.26 KB, 628x928 - ดู 174 ครั้ง.)

* 010.jpg (187.62 KB, 628x928 - ดู 175 ครั้ง.)

* 016.jpg (196.39 KB, 628x928 - ดู 172 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:39:06 AM »

13. ควรมีน้ำใจให้กับคนที่มาทีหลัง หากมีที่วางกล้องเหลือก็แบ่งๆกันครับ และที่ต้องระวังอีกอย่างก็คือ ในขณะที่กำลังถ่ายพลุอยู่นั้น บางท่านอาจจะเพลิน จนกระทั่งไปกระทบถูกขาตั้งกล้องของกล้องข้างเคียงได้ครับ


* IMG_0386.JPG (173.46 KB, 814x466 - ดู 179 ครั้ง.)

* IMG_0455.JPG (177.62 KB, 814x547 - ดู 199 ครั้ง.)

* IMG_0378.JPG (179.77 KB, 814x547 - ดู 173 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2013, 11:41:59 AM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:41:45 AM »

14. หากว่าสถานที่ถ่ายเป็นตึกสูง ควรระมัดระวัง อย่าปีนป่ายจนเกินเหตุนะครับ อันตราย เพราะเห็นกันบ่อยครั้งที่กล้องที่มาทีหลัง ไม่มีพื้นที่ตั้งกล้อง ก็จะยอมปีนป่ายออกไปนอกราวกันตก เห็นแล้วเสียวแทนครับ


* IMG_4518.JPG (160.9 KB, 888x581 - ดู 174 ครั้ง.)

* IMG_0519.JPG (176.92 KB, 814x547 - ดู 177 ครั้ง.)

* IMG_0374.JPG (144.54 KB, 814x547 - ดู 177 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 11:49:28 AM »

15. หากเราไปถึงก่อนมืด  ช่วงเวลาเย็นๆ อาจมีแสงท้องฟ้าที่สวยงาม ก็ควรจะถ่ายเก็บแสงยามเย็นมาก่อนบ้าง  เพราะหากนำมาซ้อนกับภาพพลุ เราอาจได้ภาพพลุที่สวยงามไปอีกแบบก็ได้ครับ

เทคนิคของผมทั้งหมดก็มีเพียงเท่านี้ครับ   หากใครมีเทคนิคดีๆก็นำมาแชร์ๆกันบ้างนะครับ

อ้อ......ลืมข้อสำคัญที่สุดไปข้อหนึ่งคือ ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพครับ 555


* IMG_2445.jpg (188.33 KB, 928x629 - ดู 176 ครั้ง.)

* IMG_2547.jpg (143.33 KB, 606x906 - ดู 171 ครั้ง.)

* IMG_2634.jpg (193.96 KB, 907x608 - ดู 175 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 13, 2013, 08:12:08 PM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป

หน้า: 1 2 »   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 

กระโดดไป:  

T--shirt Motor CRC