เมษายน 25, 2024, 02:08:53 AM
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
*

ฝึกถ่ายรูปอย่างมืออาชีพ(Aperture Priority)
หน้า: 1   ลงล่าง
  พิมพ์  

  ฝึกถ่ายรูปอย่างมืออาชีพ(Aperture Priority)
ผู้เขียน ข้อความ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
conbangpu
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กันยายน 06, 2011, 03:19:10 PM »

กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ เป็นไงกันบางครับ ทดลองถ่ายภาพในโหมด Shutter speed แล้วหรือยังครับ หวังว่าคงสร้างสรรค์ภาพในแนวใหม่ๆได้กันมากขึ้นนะครับ สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงอีกโหมดหนึ่งครับ นั้นก็คือโหมด A หรือ AV ครับ โหมดนี้เราจะเป็นผู้กำหนดขนาดของรูรับแสงเองครับ ส่วนกล้องจะคำนวณความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ

เอาล่ะ……..รูรับแสงนั้นมีความสำคัญในการสร้างรูป และเทคนิคอย่างไร วันนี้เราจะมารู้กันครับ ถ้าใครมีกล้องอยู่ในมือลองดูครับว่ามีโหมดนี้ไหม ถ้ามีลองหมุนทดสอบกันเลยครับ อย่างแรกเราต้องเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่าโหมดมีหน้าที่การทำงานอย่างไร โหมดนี้คือโหมดการควบคุมรูรับแสง ซึ่งรูรับแสงทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงผ่านเข้ามายังกล้องครับ จะมีให้เลือกคือปริมาณแสงที่ผ่านเข้ามาได้น้อย กับปริมาณแสงที่ผ่านเข้ามาได้มากครับ

การควบคุมรูรับแสงแต่ละค่าเราเรียกว่าค่า “เอฟ นัมเบอร์ (f-number) หรือ เอฟสตอป (f-stop)” ครับ ค่า F ยิ่งมากปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ส่วนรับภาพ (CCD) ก็จะน้อยลงครับ ในทางกลับกันถ้าค่า F ยิ่งน้อยปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ (CCD) ก็จะมากขึ้นครับ

การปรับค่ารูรับแสงจาก F-Stop หนึ่งไปยังอีก F-Stop หนึ่ง เช่น f/11 เป็น f/16 ก็จะลดปริมาณความเข้มของแสงที่ส่องบน CCD ไปครึ่งหนึ่งจากค่าเดิม หรือเมื่อเพิ่มจาก f/11 เป็น f/8 ปริมาณของแสงที่ส่องลงบน CCD ก็จะมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่าของ F-Stop เดิม มีข้อให้จดจำนิดหนึ่งนะครับถ้ากล้องที่เป็น D-SLR จะเรียกการตั้งค่าว่า F-Stop แต่ถ้าเป็นกล้องคอมแพคหรือกล้อง D-SLR Like จะเรียกว่า Aperture Priority ซึ่งคำศัพท์ทั้ง 2 ตัวความหมายเดียวกันครับ<

ข้อสังเกตในการใช้งานของโหมดนี้อีกจุดหนึ่งครับ ในกรณีที่เราใช้กล้อง D-SLR ถ้ามีการซูมเลนส์เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่ารูรับแสงจะมีการเลือกที่ต่างกันครับ ถ้าไม่มีการซูมจะสามารถเลือกค่า F ได้ถึง 2.8 แต่ถ้ามีการซูมอาจจะเลือกค่า F ได้ต่ำสุดได้แค่ 3.5 ครับ เริ่มแรกลองสำรวจที่หน้าเลนส์ของกล้องดูก่อนก็ได้นะครับ จะเห็นตัวอักษรเขียนไว้คือ f 2.8-5.6 ครับ เลนส์แต่ละตัวมีความสามารถในเรื่องค่า F ที่ต่างกันครับ ขึ้นอยู่กับ Spec ของเลนส์แต่ละรุ่นครับ ยิ่งเลนส์ที่สามารถปรับค่า F ได้น้อยก็จะยิ่งมีราคาที่แพงขึ้นครับ โดยเฉพาะเลนส์ที่เมื่อเราปรับซูมแล้วแต่ยังคงค่า F ได้น้อยๆ ก็จะยิ่งแพงไปอีกครับ เช่น เลนส์ที่สามารถปรับค่า F 2.8 ตลอดช่วงของการซูม เป็นต้นครับ

เอาล่ะที่นี้เรามาทำความเข้าใจว่าเรื่องรูรับแสงว่าจะมีผลต่อการสร้างสรรค์ภาพอย่างไรบ้าง ในกรณีที่เราต้องการถ่ายภาพที่เน้นให้วัตถุที่เราสนใจนั้นชัด แต่ฉากหลัง (Background) นั้นเบลอๆ เรามักจะปรับค่า F ให้น้อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ตัวอย่างการถ่ายภาพแนวนี้ได้แก่ การถ่ายภาพบุคคลหรือนางแบบต่างๆ การถ่ายภาพดอกไม้ หรือแมลงครับ หรือในกล้อง Compact บางรุ่นที่ไม่สามารถปรับค่า F ได้เราก็สามารถทำภาพแนวนี้ได้โดยใช้โหมด Portrait หรือ Macro แทนครับ ถ้าสังเกตหน่อยจะเห็นได้ว่าภาพแนวนี้จะเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้ถึงระยะกลางๆ ครับ ในทางกลับกันถ้าเราต้องการให้ภาพที่ได้นั้นมีความคมชัดทั้งภาพบุคคลและวิวด้านหลัง เราก็ปรับไปที่ค่า F สูงๆแทนครับ เช่นเดียวกันในกรณีของกล้อง Compact ถ้าเราต้องการให้ได้ภาพชัดทั้งหมดง่ายที่สุดคือโหมด Auto ครับ

คงมีคำถามในใจต่อไปอีกว่าแล้วตอนไหนจะใช้ค่า F เท่าไรถึงจะดีล่ะ ถ้าให้ผมแนะนำตอนนี้ผมแนะนำอย่างง่ายว่าให้ลอง ถ่ายภาพดูครับแล้วภาพที่ได้แบบไหนเป็นแบบที่เราชอบก็จำว่าเราใช้ค่า F เท่าไร จากนั้นถ้าต้องมีการถ่ายในแนวเดิมอีกเราก็จะได้นึกออกครับ หรืออีกวิธีที่ผมมักทำบ่อยๆ คือการศึกษาจากรูปของ Professional ท่านต่างๆ ที่ลงใน Magazine ถ่ายภาพครับ ในนั้นจะมีบอกว่าแต่ละภาพนั้น Pro แต่ละท่านใช้กล้องรุ่นอะไร เลนส์รุ่นไหน มีการปรับค่า Shutter speed และ ค่ารูปรับแสง อย่างไรถึงจะได้ภาพออกมาอย่างที่เห็น

โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยเคร่งเครียดเกี่ยวกับรายละเอียดว่าต้องปรับค่าโน้นค่านี้ให้ได้แป๊ะๆ หรอกนะครับ เพราะวัตถุประสงค์หลักในการถ่ายภาพของผมนั้นเน้นที่ความสนุกในการถ่ายภาพ และการเก็บบรรยากาศที่เราชื่นชอบไว้เป็นภาพให้เราสามารถนำกลับมาดูใหม่ได้ แต่ถ้าใครต้องการเป็นมืออาชีพจริงๆ ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องศึกษาให้มากครับ

เอาล่ะ ที่นี้ทุกคนพอเข้าใจกันในระดับหนึ่งแล้วนะครับ ต่อไปเรามารู้กันว่าเจ้าโหมดนี้มีข้อดีในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างใดกันบ้างนะครับ จะแบ่งออกเป็นข้อๆ นะครับเพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นครับ

1.) ถ้าเจอปัญหาในที่มีแสงน้อย เราควรเลือกรูรับแสงกว้างไว้ครับ เพื่อให้แสงผ่านเข้ากล้องได้จำนวนที่มากๆ ภาพจะได้สว่างๆ มีลายละเอียดในภาพครบครับ แต่ถ้าเลือกรูรับแสงแคบๆภาพจะมืดครับเพราะแสงเข้ามาได้น้อยครับ
2.) ถ้าต้องการถ่ายภาพให้หน้าชัดหลังเบลออย่างมืออาชีพ ก็สามารถทำได้เหมือนกันครับโดยเปิดรูรับแสงกว้างๆ แล้วซูมให้มากหน่อยครับ ก็สามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ครับ แต่จะให้ดีควรเป็นที่ที่มีแสงเยอะหน่อยนะครับ
3.) ถ้าต้องการให้ภาพออกมาชัดทั้งภาพก็ควรเลือกรูรับแสงที่มีขนาดแคบๆ ครับ จะช่วยให้ภาพที่ถ่ายชัดถึงฉากหลังเลยครับ
4.) สำหรับการถ่ายรูปพลุ ก็ควรเลือกรูรับแสงแคบๆ เหมือนกันครับเพราะจะช่วยให้แสงผ่านเข้ากล้องได้น้อยจะทำภาพพลุที่ได้นั้นมีความคมชัดครับ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดค่า Shutter speed ให้นานควบคู่กันไปด้วยนะครับ



Share

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
FRW
บุญและความรู้ ยิ่งให้เค้าไปเท่าไร ยิ่งได้กลับมามากเท่านั้น
ผู้ดูแลเว็บ
สมาชิกประจำ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166


บางอย่างที่เห็น มันอาจไม่จริงเสมอไป


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 07, 2011, 09:02:16 AM »

กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ เป็นไงกันบางครับ ทดลองถ่ายภาพในโหมด Shutter speed แล้วหรือยังครับ หวังว่าคงสร้างสรรค์ภาพในแนวใหม่ๆได้กันมากขึ้นนะครับ สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงอีกโหมดหนึ่งครับ นั้นก็คือโหมด A หรือ AV ครับ โหมดนี้เราจะเป็นผู้กำหนดขนาดของรูรับแสงเองครับ ส่วนกล้องจะคำนวณความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ

เอาล่ะ……..รูรับแสงนั้นมีความสำคัญในการสร้างรูป และเทคนิคอย่างไร วันนี้เราจะมารู้กันครับ ถ้าใครมีกล้องอยู่ในมือลองดูครับว่ามีโหมดนี้ไหม ถ้ามีลองหมุนทดสอบกันเลยครับ อย่างแรกเราต้องเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่าโหมดมีหน้าที่การทำงานอย่างไร โหมดนี้คือโหมดการควบคุมรูรับแสง ซึ่งรูรับแสงทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงผ่านเข้ามายังกล้องครับ จะมีให้เลือกคือปริมาณแสงที่ผ่านเข้ามาได้น้อย กับปริมาณแสงที่ผ่านเข้ามาได้มากครับ

ครับการควบคุมรูรับแสงแต่ละค่าเราเรียกว่าค่า “เอฟ นัมเบอร์ (f-number) หรือ เอฟสตอป (f-stop)” ครับ ค่า F ยิ่งมากปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ส่วนรับภาพ (CCD) ก็จะน้อยลงครับ ในทางกลับกันถ้าค่า F ยิ่งน้อยปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ (CCD) ก็จะมากขึ้น

การปรับค่ารูรับแสงจาก F-Stop หนึ่งไปยังอีก F-Stop หนึ่ง เช่น f/11 เป็น f/16 ก็จะลดปริมาณความเข้มของแสงที่ส่องบน CCD ไปครึ่งหนึ่งจากค่าเดิม หรือเมื่อเพิ่มจาก f/11 เป็น f/8 ปริมาณของแสงที่ส่องลงบน CCD ก็จะมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่าของ F-Stop เดิม มีข้อให้จดจำนิดหนึ่งนะครับถ้ากล้องที่เป็น D-SLR จะเรียกการตั้งค่าว่า F-Stop แต่ถ้าเป็นกล้องคอมแพคหรือกล้อง D-SLR Like จะเรียกว่า Aperture Priority ซึ่งคำศัพท์ทั้ง 2 ตัวความหมายเดียวกันครับ<

ข้อสังเกตในการใช้งานของโหมดนี้อีกจุดหนึ่งครับ ในกรณีที่เราใช้กล้อง D-SLR ถ้ามีการซูมเลนส์เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่ารูรับแสงจะมีการเลือกที่ต่างกันครับ ถ้าไม่มีการซูมจะสามารถเลือกค่า F ได้ถึง 2.8 แต่ถ้ามีการซูมอาจจะเลือกค่า F ได้ต่ำสุดได้แค่ 3.5 ครับ เริ่มแรกลองสำรวจที่หน้าเลนส์ของกล้องดูก่อนก็ได้นะครับ จะเห็นตัวอักษรเขียนไว้คือ f 2.8-5.6 ครับ เลนส์แต่ละตัวมีความสามารถในเรื่องค่า F ที่ต่างกันครับ ขึ้นอยู่กับ Spec ของเลนส์แต่ละรุ่นครับ ยิ่งเลนส์ที่สามารถปรับค่า F ได้น้อยก็จะยิ่งมีราคาที่แพงขึ้นครับ โดยเฉพาะเลนส์ที่เมื่อเราปรับซูมแล้วแต่ยังคงค่า F ได้น้อยๆ ก็จะยิ่งแพงไปอีกครับ เช่น เลนส์ที่สามารถปรับค่า F 2.8 ตลอดช่วงของการซูม เป็นต้นครับ

เอาล่ะที่นี้เรามาทำความเข้าใจว่าเรื่องรูรับแสงว่าจะมีผลต่อการสร้างสรรค์ภาพอย่างไรบ้าง ในกรณีที่เราต้องการถ่ายภาพที่เน้นให้วัตถุที่เราสนใจนั้นชัด แต่ฉากหลัง (Background) นั้นเบลอๆ เรามักจะปรับค่า F ให้น้อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ตัวอย่างการถ่ายภาพแนวนี้ได้แก่ การถ่ายภาพบุคคลหรือนางแบบต่างๆ การถ่ายภาพดอกไม้ หรือแมลงครับ หรือในกล้อง Compact บางรุ่นที่ไม่สามารถปรับค่า F ได้เราก็สามารถทำภาพแนวนี้ได้โดยใช้โหมด Portrait หรือ Macro แทนครับ ถ้าสังเกตหน่อยจะเห็นได้ว่าภาพแนวนี้จะเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้ถึงระยะกลางๆ ครับ ในทางกลับกันถ้าเราต้องการให้ภาพที่ได้นั้นมีความคมชัดทั้งภาพบุคคลและวิวด้านหลัง เราก็ปรับไปที่ค่า F สูงๆแทนครับ เช่นเดียวกันในกรณีของกล้อง Compact ถ้าเราต้องการให้ได้ภาพชัดทั้งหมดง่ายที่สุดคือโหมด Auto ครับ

คงมีคำถามในใจต่อไปอีกว่าแล้วตอนไหนจะใช้ค่า F เท่าไรถึงจะดีล่ะ ถ้าให้ผมแนะนำตอนนี้ผมแนะนำอย่างง่ายว่าให้ลอง ถ่ายภาพดูครับแล้วภาพที่ได้แบบไหนเป็นแบบที่เราชอบก็จำว่าเราใช้ค่า F เท่าไร จากนั้นถ้าต้องมีการถ่ายในแนวเดิมอีกเราก็จะได้นึกออกครับ หรืออีกวิธีที่ผมมักทำบ่อยๆ คือการศึกษาจากรูปของ Professional ท่านต่างๆ ที่ลงใน Magazine ถ่ายภาพครับ ในนั้นจะมีบอกว่าแต่ละภาพนั้น Pro แต่ละท่านใช้กล้องรุ่นอะไร เลนส์รุ่นไหน มีการปรับค่า Shutter speed และ ค่ารูปรับแสง อย่างไรถึงจะได้ภาพออกมาอย่างที่เห็น

โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยเคร่งเครียดเกี่ยวกับรายละเอียดว่าต้องปรับค่าโน้นค่านี้ให้ได้แป๊ะๆ หรอกนะครับ เพราะวัตถุประสงค์หลักในการถ่ายภาพของผมนั้นเน้นที่ความสนุกในการถ่ายภาพ และการเก็บบรรยากาศที่เราชื่นชอบไว้เป็นภาพให้เราสามารถนำกลับมาดูใหม่ได้ แต่ถ้าใครต้องการเป็นมืออาชีพจริงๆ ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องศึกษาให้มากครับ

เอาล่ะ ที่นี้ทุกคนพอเข้าใจกันในระดับหนึ่งแล้วนะครับ ต่อไปเรามารู้กันว่าเจ้าโหมดนี้มีข้อดีในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างใดกันบ้างนะครับ จะแบ่งออกเป็นข้อๆ นะครับเพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นครับ

1.) ถ้าเจอปัญหาในที่มีแสงน้อย เราควรเลือกรูรับแสงกว้างไว้ครับ เพื่อให้แสงผ่านเข้ากล้องได้จำนวนที่มากๆ ภาพจะได้สว่างๆ มีลายละเอียดในภาพครบครับ แต่ถ้าเลือกรูรับแสงแคบๆภาพจะมืดครับเพราะแสงเข้ามาได้น้อยครับ
2.) ถ้าต้องการถ่ายภาพให้หน้าชัดหลังเบลออย่างมืออาชีพ ก็สามารถทำได้เหมือนกันครับโดยเปิดรูรับแสงกว้างๆ แล้วซูมให้มากหน่อยครับ ก็สามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ครับ แต่จะให้ดีควรเป็นที่ที่มีแสงเยอะหน่อยนะครับ
3.) ถ้าต้องการให้ภาพออกมาชัดทั้งภาพก็ควรเลือกรูรับแสงที่มีขนาดแคบๆ ครับ จะช่วยให้ภาพที่ถ่ายชัดถึงฉากหลังเลยครับ
4.) สำหรับการถ่ายรูปพลุ ก็ควรเลือกรูรับแสงแคบๆ เหมือนกันครับเพราะจะช่วยให้แสงผ่านเข้ากล้องได้น้อยจะทำภาพพลุที่ได้นั้นมีความคมชัดครับ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดค่า Shutter speed ให้นานควบคู่กันไปด้วยนะครับ



ผมคงต้องขออนุญาติท่านเจ้าของกระทู้นิดนะครับ  และขอขอบพระคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันกันเสมอมา   แต่บางประเด็นอาจมีความคลาดเคลื่อนหรือคลุมเคลือ  ผมจึงต้องขอบังอาจกล่าวเพิ่มเติมนะครับ
เรื่องแรกเลย เรื่องของการถ่ายภาพมาโคร   ส่วนใหญ่ การถ่ายภาพแนวนี้มักจะโฟกัสเข้าไปที่วัตถุที่จะถ่ายอย่างใกล้ๆด้วยเลนส์มาโครหรือท่อต่อหรือฟิลเตอร์มาโคร   ซึ่งผลข้างเคียงของการถ่ายใกล้จะทำให้ความชัดลึกเหลือน้อยมากอยู่แล้วครับ  ฉะนั้น  การถ่ายภาพแนวนี้  หากผู้ถ่ายเปิดหน้ากล้องกว้างๆหรือค่า F น้อยๆ  ก็จะทำให้ถ่ายภาพแล้วความชัดอาจไม่ครอบคลุมวัตถุทั้งหมด  ทางแก้ไข จึงต้องปรับค่า F ให้แคบๆหรือมีค่าสูงๆครับ
เรื่องต่อมา  คือโหมด A หรือ AV ครับ  การใช้โหมดนี้  เป็นการเลือกหน้ากล้องจากผู้ใช้  แล้วกล้องจะทำการเลือกชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับแสง ณ.เวลานั้นๆ  ฉะนั้น  ไม่ว่าท่านจะปรับรูรับแสงที่เท่าไร  กล้องก็จะให้แสงตกลงที่เซ็นเซ่อร์รับภาพพอดีเสมอคงที่เท่ากันตลอดครับ  ไม่ได้ปรับค่า F มากแล้วแสงจะน้อยลงหรือปรับค่า F น้อยแล้วแสงจะลงมากขึ้นแต่อย่างใดครับ  เพียงแต่ค่าความเร็วชัตเตอร์จะแตกต่างไปตามสภาพของแสง ณ.เวลานั้นๆและค่า F ที่เลือก   ฉะนั้น  เมื่อเราปรับค่ารูรับแสงที่มีค่ามากๆ  ความเร็วชัตเตอร์จะตกลงมาก  ซึ่งอาจมีผลกับการหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่จะถ่าย  หรือ มีผลกับการถือกล้องให้นิ่งเวลาถ่ายครับ
เรื่องต่อมา ก็ขอเพิ่มเติมตามข้อที่ท่านคนบางปูให้มาแล้วนะครับ
1.) ถ้าเจอปัญหาในที่มีแสงน้อย เราควรเลือกรูรับแสงกว้างไว้ครับ เพื่อให้แสงผ่านเข้ากล้องได้จำนวนที่มากๆ ภาพจะได้สว่างๆ มีลายละเอียดในภาพครบครับ แต่ถ้าเลือกรูรับแสงแคบๆภาพจะมืดครับเพราะแสงเข้ามาได้น้อยครับ  ถ้าเราพูดกันถึงเรื่องของการใช้โหมด A หรือ AV  ไม่ว่าท่านจะเลือกหน้ากล้องที่กว้างหรือแคบ  ภาพที่ได้  แสงจะเท่ากันหมดครับ  เพียงแต่หากแสงน้อยแล้วเลือกค่า F สูงๆ  จะทำให้ชัตเตอร์ช้าจนภาพอาจสั่นไหวได้ครับ
2.) ถ้าต้องการถ่ายภาพให้หน้าชัดหลังเบลออย่างมืออาชีพ ก็สามารถทำได้เหมือนกันครับโดยเปิดรูรับแสงกว้างๆ แล้วซูมให้มากหน่อยครับ ก็สามารถทำหน้าชัดหลังเบลอได้ครับ แต่จะให้ดีควรเป็นที่ที่มีแสงเยอะหน่อยนะครับ  การที่เราเปิดหน้ากล้องกว้างๆ  ก็จะทำให้แสงเข้ากล้องมากโดยธรรมชาติอยู่แล้วครับ  และบางครั้งที่เราอยู่กลางแจ้ง  การเปิดหน้ากล้องกว้างๆอาจทำให้แสงมีมากเกินควรด้วยซ้ำไปครับ
3.) ถ้าต้องการให้ภาพออกมาชัดทั้งภาพก็ควรเลือกรูรับแสงที่มีขนาดแคบๆ ครับ จะช่วยให้ภาพที่ถ่ายชัดถึงฉากหลังเลยครับ ในข้อนี้แหละครับ  ที่จำเป็นต้องทำในที่ที่มีแสงมากพอสมควรครับ   เพราะการเปิดหน้ากล้องแคบ  จะทำให้แสงที่ผ่านเลนส์เหลือน้อยลง กล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลงตาม  อาจมีผลจนภาพสั่นไหวได้  จึงควรเลือกใช้ในที่แสงมากครับ
4.) สำหรับการถ่ายรูปพลุ ก็ควรเลือกรูรับแสงแคบๆ เหมือนกันครับเพราะจะช่วยให้แสงผ่านเข้ากล้องได้น้อยจะทำภาพพลุที่ได้นั้นมีความคมชัดครับ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดค่า Shutter speed ให้นานควบคู่กันไปด้วยนะครับ  การถ่ายภาพพลุ  ไม่ควรใช้โหมด A หรือ AV ครับ  และที่ท่านคนบางปูกล่าวถึงก็เป็นการใช้ในโหมด M ครับ   และส่วนใหญ่ของการถ่ายภาพพลุ  การใช้ค่า F เท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับสองเรื่องใหญ่ๆครับ คือ  หนึ่งแสงของพลุที่จุด  มาก-น้อยต่างกันแต่ล่ะค่ายไม่เท่ากัน  สองระยะทางจากกล้องถึงพลุ  เพราะยิ่งท่านอยู่ไกลมาก  แสงจะเดินทางมาถึงน้อยลง  แต่โดยส่วนใหญ่  ผมจะใช้ค่า F อยู่ที่ราว 11,16 เป็นส่วนใหญ่ครับ  ชัตเตอร์ก็ราวๆ 7-20 วินาที  ขึ้นอยู่กับว่า การจุดพลุนั้นรัวถี่แค่ไหนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2011, 09:06:51 AM โดย FRW » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ผู้มีบุญก็เข้ามา  หมดวาสนาก็จากไป
e21rts
ผู้ดูแลเว็บ
แฟนพันธ์แท้ SPC
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,251


e21rts@outlook.co.th


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 08, 2011, 10:06:31 AM »

ขอบคุณทั้งสองท่านนะครับ...ทีนี้ล่ะ..ผมจะถ่ายพลุ..ถ่ายพร์อทเทตร...ถ่ายมาโครได้ซะที...อิๆๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

++คติเตือนตน++คำว่า"คนดี"..คือคำที่มีไว้เรียกคนโง่ให้ฟังสวยหรูดูดีมีเกียรติ...เพื่อหลอกให้มันหลงภาคภูมิใจ...และตั้งหน้าตั้งตาทำเรื่องโง่ๆของมันต่อไป..
anundaza01
สมาชิกใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 27, 2018, 02:11:10 PM »

ช่างภาพมืออาชีพจริงๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า


หน้า: 1   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 

กระโดดไป:  

T--shirt Motor CRC